สวัสดีครับทุกท่าน
ผมเขียนบทความนี้ขณะรอขึ้นเครื่องไปประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อเข้าร่วมอบรมหลักสูตร
Dean
For Change หรือคณบดีเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 2 ที่จัดโดยสถาบันคลังสมองแห่งชาติในเดือนธันวาคม 2555 ซึ่งหมายความว่าผมจะต้องนั่งเครื่องบินของสายการบินไทยหรือ TG ไปอีก 12 ชั่วโมง การเดินทางโดยเครื่องบินนี้เป็นยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด
อย่างไรก็ตามเมื่อคำนวณเฉลี่ยต่อผู้โดยสารแต่ละคนแล้วก็ยังน้อยกว่าการใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปไหนต่อไหนเพียงคนเดียว
ยิ่งปริมาณรถยนต์ในบ้านเราที่จะเพิ่มขึ้นตามนโยบายรถยนต์คันแรกแล้ว
ไม่อยากจะคิดเลยว่าเราจะร่วมกันปล่อยก๊าซคาร์บอนไปอีกเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ผมเห็นคือ
มีแต่คนกังวลว่าปัญหารถติดจะเพิ่มมากขึ้น การเดินทางไปไหนมาไหนจะลำบากมากขึ้น
มีส่วนน้อยที่กังวลต่อปัญหามลภาวะ และการใช้พลังงานมากเกินไป
ซึ่งตอนนี้หลายหน่วยงานให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ผมก็เลยคิดว่าผมควรจะเขียนขยายความเรื่องราวเหล่านี้ให้มากขึ้น
ย้อนกลับไปถึงเรื่องที่ผมเกริ่นถึงการเดินทางโดยเครื่องบินที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากเป็นอันดับหนึ่ง
และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอุตสาหกรรมหลักในการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ
คิดเป็นร้อยละ 5
ของปริมาณก๊าซคาร์บอนทั้งหมด นั่นหมายความว่า
ยิ่งเราส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของการจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ
เราก็เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ผมพูดถึงเรื่องนี้เพราะได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำที่ผมและทีมงานจากหน่วยวิจัยการบริโภคและเศรษฐกิจยั่งยืน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เข้าไปดำเนินการที่เกาะสมุย
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อพัฒนาธุรกิจต้นแบบที่มีการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ
โดยได้รับงบประมาณการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี พ.ศ. 2556 ซึ่งขณะนี้
ผู้รับผิดชอบและภาคธุรกิจในเกาะสมุย
ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้เป็นอย่างมากและมีความต้องการที่จะวางแผนในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระยะยาวเพื่อที่จะอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวให้เป็นสมบัติของคนไทยทุกคนให้นานที่สุด
หากจำได้ผมพูดถึงเรื่อง Open Sky Marketing ที่อาจารย์ปู่ชาวไอริชของผม
Pierre ได้เสนอแนะว่าเป็นการยากที่จะทำให้ทุกคนออกมารักโลก หรือปกป้องโลก
หลายท่านอาจจะคิดว่า ฉันไม่ใช่สไปเดอร์แมน หรือแบทแมนนะจะให้ออกมาปกป้องโลก
อาจารย์ปู่ผมจึงบอกว่าไม่ต้องออกมาปกป้องโลกหรอก
แต่ให้ทำอะไรก็ได้ที่จะทำให้เราและลูกหลานยังสามารถอาศัยอยู่ในโลกนี้ได้ ดังนั้น
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเริ่มต้นลงมือกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง
สิ่งที่ผมกล่าวไปข้างต้นนั้น
เราสามารถใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาได้
เพียงแต่ว่าเราอาจจะต้องเปลี่ยนมุมมองหรือแนวคิดในใจ (Mindset) เสียใหม่จากที่มองว่าเรามีการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดเงินตราจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
หรือเพื่อเพิ่มรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
แต่เราอาจจะมองการท่องเที่ยวว่าเป็นกลไกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้งทางทะเลและทางบก
ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เอกลักษณ์ของคนในท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่อากาศ
พูดถึงเรื่องอากาศ
เราก็ภูมิใจไม่มากก็น้อยที่พื้นที่ที่อากาศดีที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่อำเภอลานสกา
จังหวัดนครศรีธรรมราชของเรานี่เองที่แวดล้อมไปด้วยขุนเขาและป่าไม้
ซึ่งหากจะมีการนำแนวคิดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำไปดำเนินการก็จะเป็นจุดขายที่เชื่อมโยงเรื่องราวได้ดีครับ
ย้อนกลับมาเรื่องการใช้การท่องเที่ยวเป็นกลไกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว
ผมไปดูงานที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียที่มีการอนุรักษ์บ้านเรือน
สิ่งก่อสร้างให้เป็นเอกลักษณ์ตามวัฒนธรรมของชาวบาหลี มีการฝึกลูกหลานให้ฝึกฟ้อนรำ
ผมก็ถามคนที่บาหลีว่าสิ่งเหล่านี้คนบาหลีเตรียมไว้รองรับการท่องเที่ยวหรือ
คำตอบที่ผมได้รับกลับกลายเป็นว่า
การท่องเที่ยวนั่นแหละที่มีไว้รองรับศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นของบาหลี
ซึ่งหมายความว่าการท่องเที่ยวที่บาหลีไม่ได้มุ่งเน้นที่จะใช้เอกลักษณ์ท้องถิ่นที่มีมาเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
แต่คนบาหลีใช้การท่องเที่ยวเพื่อสืบสานและอนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนทำให้คนบาหลียังสามารถรักษาฐานทุนสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างเหนียวแน่น
นอกจากบาหลีในเมืองไทยผมได้ไปที่กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร จังหวัดพังงาซึ่งเป็นชุมชนรอยต่อระหว่างกระบี่กับพังงา ที่โคกไคร การท่องเที่ยวไม่ได้มุ่งเน้นสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน แต่การท่องเที่ยวเป็นกลไกที่ทำให้คนในชุมชนรักและหวงแหนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ดังเห็นได้จากการไม่เน้นปริมาณของนักท่องเที่ยว แต่มุ่งเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ต้องการเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวคุณภาพเหล่านี้ครับเป็นกลุ่มที่ใช้เงินเพื่อการท่องเที่ยวมากเกือบวันละ 4,000 บาทต่อวัน ตรงนี้ผมชี้ให้เห็นว่าหากเราสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราก็ยังอยู่ได้ครับ เพราะหมายความว่าเราจะเลือกกลุ่มของนักท่องเที่ยวไปโดยปริยาย ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการเลือกที่จะดำเนินธุรกิจแบบ Less for More หรือที่ว่ารับนักท่องเที่ยวน้อย ๆ แต่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ใช้จ่ายเยอะ ขณะที่ธุรกิจจำนวนมากยังเน้นการรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่มีรายได้ต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่ำ วันก่อนเข้าร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ผู้บริหารของสกว. และวช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ ท่านผู้ว่าฯ ยังบอกเลยครับว่าในเมื่อเรามีโอกาสจากนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพกลุ่มนี้อยู่แล้วทำไมไม่เน้นและวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มลูกค้าคุณภาพกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่รักสิ่งแวดล้อมและยินดีจ่ายเงินเพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากบาหลีในเมืองไทยผมได้ไปที่กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร จังหวัดพังงาซึ่งเป็นชุมชนรอยต่อระหว่างกระบี่กับพังงา ที่โคกไคร การท่องเที่ยวไม่ได้มุ่งเน้นสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน แต่การท่องเที่ยวเป็นกลไกที่ทำให้คนในชุมชนรักและหวงแหนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ดังเห็นได้จากการไม่เน้นปริมาณของนักท่องเที่ยว แต่มุ่งเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพที่ต้องการเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวคุณภาพเหล่านี้ครับเป็นกลุ่มที่ใช้เงินเพื่อการท่องเที่ยวมากเกือบวันละ 4,000 บาทต่อวัน ตรงนี้ผมชี้ให้เห็นว่าหากเราสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราก็ยังอยู่ได้ครับ เพราะหมายความว่าเราจะเลือกกลุ่มของนักท่องเที่ยวไปโดยปริยาย ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการเลือกที่จะดำเนินธุรกิจแบบ Less for More หรือที่ว่ารับนักท่องเที่ยวน้อย ๆ แต่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ใช้จ่ายเยอะ ขณะที่ธุรกิจจำนวนมากยังเน้นการรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่มีรายได้ต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่ำ วันก่อนเข้าร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ผู้บริหารของสกว. และวช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ ท่านผู้ว่าฯ ยังบอกเลยครับว่าในเมื่อเรามีโอกาสจากนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพกลุ่มนี้อยู่แล้วทำไมไม่เน้นและวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มลูกค้าคุณภาพกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่รักสิ่งแวดล้อมและยินดีจ่ายเงินเพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในขณะเดียวกันนอกเหนือจากการดำเนินงานของภาคธุรกิจ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเร่งในด้านการสร้างแนวคิดในใจในฝั่งของนักท่องเที่ยวด้วยครับ
นอกจากจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวชมศิลปวัฒนธรรม หรือเพื่อความเพลิดเพลินใจแล้ว
หน่วยงานทั้งภาครัฐและธุรกิจท่องเที่ยวควรเริ่มให้ความรู้และรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ
แทนที่จะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญครับใช้แนวคิด Open Sky
Marketing ครับ
เชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมสร้างสรรค์โลกสวยเพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่ในโลกนี้ได้นานขึ้นครับ
เราต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้แล้วครับ ก่อนที่เราจะไม่มีโลกสวย ๆ
ให้เราอยู่กับลูกหลานได้อีกตราบนานเท่านาน หากท่านผู้อ่านท่านใด มีข้อแนะนำ ติชม หรือเสนอแนะแลกเปลี่ยนกันได้ครับ ด้วยความยินดีนะครับ
ป.ล. บทความนี้เดิมตั้งใจเขียนสำหรับนิตยสาร
Say
Hi ของจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ไม่แน่ใจว่าได้นำเสนอหรือไม่
จึงมานำเสนอผ่านตรงนี้อีกครั้งเพื่อเผยแพร่แนวคิดที่ตั้งใจไว้
Siwarit Valley 2013 ©สงวนลิขสิทธิ์ เอกสารใน Blog นี้ ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาตอนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาได้ โดยต้องใช้ตามต้นฉบับเดิมห้ามแก้ไข ดัดแปลง
Siwarit Valley 2013 ©สงวนลิขสิทธิ์ เอกสารใน Blog นี้ ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาตอนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาได้ โดยต้องใช้ตามต้นฉบับเดิมห้ามแก้ไข ดัดแปลง
No comments:
Post a Comment